วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของเรา
………………………………………………………………………………
ระบบภูมิคุ้มกันคือสิ่งที่ธรรมชาติสร้างให้เรา เพื่อให้ร่างกายของเรามีกลไกการทำงานในการดูแลตัวเอง เมื่อเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้ามาสู่ร่างกาย
ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ก็จะช่วยให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยง่ายจากเชื้อโรค หรือ เชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัวเราเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี ก็จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้อีกด้วย
วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงนั้น มีปัจจัยประกอบกันหลายอย่าง ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง
- การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ
- นอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ
- หลึกเลี่ยงการดื่มเหล้า สูบบุหรี่
สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ
กินอาหารหารที่มีประโยชน์ 3 มื้อ
มื่อเช้า มื้อหนัก อาหารเช้ามีความสำคัญเพราะ ให้พลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตสำหรับเด็กจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต สมองทำงานได้ดี ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และทำกิจกรรมต่างได้ดี สำหรับผู้ใหญ่ช่วยให้ทำงานได้อย่างมีสมาธิ ควบคุมอารมณ์ได้
มื้อกลางวัน มื้อกลาง เป็นมื้อเติมพลังงานจากมื้อเช้า เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานทำกิจกรรมได้ต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ และไม่ควรเป็นมือหนักเกินไป เพราะช่วงบ่าย-เย็น ร่างกายจะเริ่มใช้พลังงานน้อยลง
มือเย็น มื้อเบา ควรกินก่อนเวลานอน 3 ชั่วโมง เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ย่อยง่าย ระบบย่อยอาหารจะได้ไม่ทำงานหนักก่อนนอน ร่างกายจะได้พักผ่อนเต็มที่
กินอย่างไร?
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละมื้อควรได้รับสารอาหารครบถ้วน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่
ปริมาณ สัดส่วนในการกินที่เหมาะสม สัดส่วน 2:1:1 เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมสำสหรับอาหารเพื่อสุขภาพพที่ดี แบ่ง ใน 1 จาน เป็นผัก 2 ส่วน แป้ง 1 ส่วน เนื้อสัตว์ 1 ส่วน
กินผักผลไม้ที่หลากหลายและเลือกกินตามฤดูกาล
ปกติแล้วร่างกายควรได้รับวิตามินแร่ธาตุที่หลากหลายชนิด ดังนั้นการกินผักผลไม้ชนิดเดิมซ้ำๆ ร่างกายอาจได้รับวิตามินสารอาหารที่จำเป็นไม่ครบถ้วน
ลดหวาน มัน และเค็ม
สัดส่วน 6 : 6 : 1 คือปริมาณที่เหมาะสมต่อวันในการบริโภค น้ำตาล น้ำมัน และเกลือ น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อน น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อน เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ดื่มเมื่อไหร่
- หลังตื่นนอน ตื่นแล้วควรดื่มน้ำทันที ช่วยกระตุ้นการทำงานระบบต่างๆ ในร่างกาย
- ดื่มเมื่อหิวน้ำ ถ้ารู้สึกหิวแสดงว่าร่างกายเริ่มขาดน้ำ จึงควรดื่มน้ำระหว่างวันอย่างสม่ำเสมอ
- ดื่มก่อนนอน ช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายสมดุล ลแะนอนหลับได้ยอ่างมีประสิทธิภาพ
- เมื่ออาหาศร้อน ทำกิจกรรมกลางแจ้ง เสียเหงือจากการทำงานหรือการออกกำลังกาย
ดื่มอย่างไร?
- ดื่มน้ำแปล่าที่สะอาด ปราศจากสารเจือปน
- ดื่มน้ำโดยการจิบทีละน้อยตลอดทั้งวัน
- ระวังการดื่มครั้งเดียวในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ตับไตทำงานหนักขึ้น เลือดเจือจาง ปริมาณน้ำในเซลล์มากจนเกิดอาการบวมน้ำ อาจจะเป็นพิษต่อเซลล์ วิงเวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นช้า
- หลึกเลี่ยงจากดื่มทีเดียวอย่างรวดเร็ว เพราะจะมีผลกระทบต่อการทำงาน สูบฉีดของหัวใจ
- ดื่มให้เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ มีประโยชน์อย่างไร?
ร่างกายของเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 60 % ของน้ำหนักตัว ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเลือด อวัยวะ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง และสมอง
- ระบบต่างๆ ของร่างกายและสมองทำงานได้ดี
- สามารถขนส่งอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
- การเคลื่อนไหวดีขึ้น เพราะน้ำไปช่วยหล่อลื่นข้อต่อ และช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพ
- สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ดี ป้องกันอาการท้องผูก
- สุขภาพผิวดี
ดื่มอย่างไร? (วิธีการดื่มน้ำให้ได้ประโยชน์)
- ดื่มน้ำเปล่าที่สะอาด ปราศจากสารเจือปน
- ดื่มน้ำโดยการจิบที่ละน้อยตลอดทั้งวัน
- ระวังการดื่มครั้งเดียวในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ตับไตทำงานหนักขึ้น เลือดเจือจาง ปริมาณน้ำในเซลล์มากจนเกิดอาการบวมน้ำ อาจะเป็นพิษต่อเซลล์ วิงเวียนหัว คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นช้า
- หลีกเลี่ยงจากดื่มที่เดียวอย่างรวดเร็ว เพราะจะมีผลกระทบต่อการทำงาน สูบฉีดของหัวใจ
- ดื่มให้เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสม
ควรจัดเวลาให้ได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หรือ กิจกรรมที่ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากร่างกายจะแข็งแรงเสริมภูมิคุ้มกันแล้ว ยังช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ระบบการทำงานของหัวใจและปอดสัมพันธ์กันอย่างดี เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้อายุจะมากแล้ว
การออกกำลังกายแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ระดับเบา หมายถึง การเคลื่อนไหวทั่วไปที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นการเคลื่อนไหวที่น้อยมาก เช่น การยืน การนั่ง การเดินระยะทางสั้นๆ
ระดับปลานกลาง หมายถุึง การออกแรงที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มีความเหนื่อยและหนักในระดับเดียวกับการเดินเร็ว ขึ่จักรยาน ทำงานบ้าน ระดับชีพจรจะอยุ่ที่ 120-150 ครั้ง ระหว่างออกกำลังกายยังสามารถพูดเป็นประโยคได้ และมีเหงื่อซึมๆ
ระดับหนัก หมายถึง การที่ร่างกายเคลื่อนไหวซ้ำๆ ต่อเนื่อง โดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การวิ่ง เดินขึ้นบันได มีระดับชีพจร 150 ครั้งขึ้นไป เหนื่อยหอบและพูดเป็นประโยคไม่ได้
ก
ปริมาณเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัย
- เด็กอายุ 6-17 ปี ควรออกกำลังกายระดับปานกลางขึ้นอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน
- ผู้ใหญ่อายุ 18-24 ปี ควรออกกำลังกายระดับปานกลางขึ้นไปอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
- ผู้สูงอายุที่อายุต้้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ควรออกกำลังกายระดับปานกลางขึ้นไป อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ในระดับที่เหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย
ออกกำลังกายในระดับมีเหมาะสมดีอย่างไร
- เผาผลาญพลังงาน
- เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก
- กล้ามเนื้อและข้อต่างๆ มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
- ระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจทำงานได้ดี
- เคลื่อไหวในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิต่อเนื่อง ไม่เหนื่อยง่าย
- ลดความเสี่ยงจากโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
- นอนหลับสนิท ได้พักผ่อนเพียงพอ
- ผ่อนคลายความ ช่วยให้สุขภาพจิตดี
พักผ่อนให้เพียงพอ
ควรพักผ่อนเมื่อไหร่
- กำหนดเวลานอนเป็นกิจวัตรและเข้านอนตามเวลาให้เป็นปกติ
- ไม่ควรนอนเกิน 4 ทุ่ม ร่างกายจะได้หลั่งโกรกฮอร์โมน ทำ ให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ฟื้นฟูตัวเอง
- ไม่ควรงีบหลับตอนกลางวัน หรือ เย็น เพราะจะทำให้กลางคืนนอนหลับได้ไม่สนิท
ในแต่ละวัยควรที่ชั่วโมงการพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัย
- ทารก ต้องการนอนหลับ 14-17 ชั่วโมง
- เด็กต้องการนอนหลับ 9-11 ชั่วโมง
- วัยรุ่น ต้องการนอนหลับ 8-10 ชั่วโมง
- ผู้ใหญ่ ต้องการนอนหลับ 7-8 ชั่วโมง
- ผู้สูงอายุ ต้องการนอนหลับ 7-8 ชั่วโมง
ดีอย่างไรถ้าได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธภาพ กระปรี้กระเปร่า อารมณ์ดี
- สมองได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ระดับฮอร์โมนสมดุล
- เพิ่มภูมิคุ้มกัน ไม่ป่วยง่าย
- ร่ายกายมีเวลาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ขจัดสารพิษตกค้างในร่างกาย มีสุขภาพที่ดี
ผลเสียหากพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย
- ฮอร์โมนไม่สมดุล อ้วนง่าย
- ส่งฟลเสียต่อระบบประสาทและความจำ
- เครียด อารมณ์แปรปรวน
หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้ยาเสพติด
การดื่มเหล้าส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการมึน งง ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัวได้น้อยลง เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุต่างๆ เสียงต่อการเกิดโรค ตับแข็ง โรคกระเพาะ โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ
ข้อดี ของการเลิกเหล้า
- สมองฟื้นฟู ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีสมาธิ ความจำดีขึ้น
- การลดปริมาณการดื่ม และเลิกดื่มได้ในที่สุด จะช่วยให้ตับฟื้นฟูตัวเองได้
- หัวใจแข็งแรงขึ้น เพราะไม่ต้องรับภาระหนักจากหลอดเลือดอุดตัน
- ระบบเผาผลาญดีขึ้น ตวบคุมน้ำหนักได้
- ผิวฟื้นฟู
- ตัดสินใจและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
- ได้นอนหลับพักผ่อนเต็มที่
- ลดปัญหา ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับครอบครัวและคนรอบข้าง
#วิธีสร้างภูมิคุ้มกัน #ระบบภูมิคุ้มกัน #ออกกำลังกายสร้างภูมิคุ้มกัน # พักผ่อนสร้างภูมิคุ้มกัน
|