พืชไทยชะลอข้อเข่าเสื่อม
ข่าวหนังสือพิมพ์ กรุงเทพฯธุรกิจ พืชไทยชะลอข้อเข่าเสื่อม เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปและละเลยต่อการดูแลรักษาสุขภาพ ใช้ร่างการหักโหม อาจมีโรคร้ายเข้ามา หนึ่งในโรคท็อปฮิดในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ คือโรคข้อเข่าเสื่อม ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง และมีโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหินสูง เนื่องจากการไม่ออกกำลังกาย ศ.ดร.พิเชษฐ์ ประธานกรรมการ บ.เอเซี่ยนไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้สมดุลจากสารสกัดธรรมชาติ และผู้วิจัยพืชไทยต้านโรคข้อเข่าเสื่อมได้สำเร็จ
ข้อเช่าเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ ผู้สูงอายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีน้ำหนักมาก เป็นโรคข้ออักเสบ หรือรูมาตอยด์ พันธุกรรมแต่กำเนิด มีขาและเข่าที่ผิดรูป ออกกำลังกายที่มีการกระแทกอย่างมาก เช่น การวิ่ง นั่งคุกเข่า พับเพียบ นั่งยอง ๆ กับพื้นนาน ๆ
โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากระดุกอ่อนผิดข้อ ลดลง ซึ่งตามปกติ กระดูกอ่อนผิวข้อจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อ และป้องกันไม่ให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อนกระแทกกระดูกอีกฝั่ง หากกระดูกอ่อนผิวข้อลดลง ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุ น้ำหนัก แรงกดที่กระทำกับข้อ และเอ็นรอบข้อถูกยืด ข้อขัด ข้อฝืด เหยียด งอเข่าไม่ได้สุดและมีเสียงดังในข้อเข่าเวลาขยับข้อเข่า จากการเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ จะสงผลให้กระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อสัมผัสกัน เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดข้อเข่า

สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัด ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่เป็นวิธีธรรมชาติซึ่งสามารถต้านข้อเข่าเสื่อมได้ โดยล่าสุดคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยสามารถสกัดพืชไทย 5 ชนิด ได้แก่ มังคึุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก โดยสารสกัดดังกล่าวเมื่อเสริมฤทธิ์กันมีคุณสมบัติในการลดการหลั่งสาร TNF-X , IL-6 และ IL-17 ของเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ สร้างภาวะภูมิคุ้มกันที่สมดุลให้กับร่างกาย นอกจากนี้สารสกัดจากธรรมชาติยังสามารถเสริมสร้างคอลลาเจนและกระดูกอ่อนเมื่อมีการใช้งานต่อเนื่องกันอีก
เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่นักวิทยาศาสตร์ไทยสามารถวิจัยเป้นผลสำเร็จถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการมีสุขภาพที่ดี เพราะการที่มีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนปรารถนา แต่จะสุขภาพดีได้ ที่สำคัญคือ ทุกคนต้องหา ความสมดุล ของร่างกาย เพื่อจะได้มีภูมิคุ้มกันที่ดีและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
 
โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากระดูกอ่อนผิวข้อลดลง ซึ่งตามปกติ กระดูกอ่อนผิวข้อจะทำหน้าที่เป้นเสมือนตัวดุดซับแรงกดภายในข้อ และป้องกันไม่ให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อนกระแทก กระดูดอีกฝัง หากกระดูดอ่อนผิวข้อเหล่านี้ลดลง ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม น้ำหนักหรือแรงกดที่กระทำกับข้อ และเอ็นรอบข้อถูกยึด ข้อขัด ข้อฝืด เหยียดงอเข่าไม่ได้สุด และมีเสียงในข้อเวลาขยับข้อเข่าเสียดสีกันของผิวข้อที่ไม่เรียบ ส่งผลให้กระดุกกอ่อนผิวข้อสัมผัสกัน เป็นเหตุให้เกิดอการปวด
|