โรคกระเพาะและกรดไหลย้อนต่างกันอย่างไร
โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง ภาวะที่แผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอ และ มีเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งหลั่งสารพิษออกมาทำให้เกิดแผลเรื้อรังขึ้น อาการของโรคกระเพราะ ปวดบริเวณลิ้นปี่ ปวดแบบแสบ ๆ ร้อน ๆ ปวดเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ เป็นเรื่อย ๆ ปวดเวลาท้องเวลาหิวและท้องว่าง จุก แน่น ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
มีลมในกระเพาะ คลื่นไส้อาเจียน สาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะอาหาร คือเชื้อ เอช.ไพโลไร เป็นแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร มันจะติดอยู่ในกระเพาะอาหาร และไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในกระเพาะอาหาร ทำให้กรดถูกขับออกมามากขึ้น จนทำให้เยื่อบุกระเพาะอักเสบ นำไปสู่แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนบน
ข้อแนะนำสำหรับโรคกระเพาะ
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- อย่านอนดึก ยิ่งนอนดึกยิ่งหิว เพราะกรดถูกหลั่งออกมาในท้องมากเกินไป
- เลี่ยงอาหารมัน อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
- งดเหล้าและบุหรี่ ช่วยกระตุ้นการหลังของกรดในกระเพาะ
- ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ไม่เครียด
โรคกรดไหลย้อน(GERDหรือเกิร์ด) เป็นผลมาจากกรด และน้ำย่อย จากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เบื่อบุหลอดอาหารอักเสบแสบตามมา
จะมีอาการท้องอืด จุกเสียด คล้ายโรคกระเพาะ แต่ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เจ็บคอ กลืนลำบาก เรอเปรียว หรือมีรสขมในปาก เสียงแหบ รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกที่คอ ไอเรื้อรัง หรือบางรายอาจมีอาการหอบหืดร่วมด้วย กรดไหลย้อนมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาศพบมากขึ้น
สาเหตุสำคัญของโรคกรดไหลย้อน คือ มีความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารและการบีบตัวของกระเพาะอาหารทำให้อาหารค้างในลำไส้นานกว่าปกติ รวมทั้งมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์
ข้อควรปฏิบัติ
- การนอนตะแคงขวาทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนกำเริบขึ้น บ่ิอยกว่าการนอนตะแคงซ้ายเนื่องจากในท่านอนตะแคงขวา กระเพาะอาหารจะอยู่เหนือหลอดอาหาร ทำให้มีแรงกดต่อหูรูดหลอดอาหารให้เปิดออกได้ง่ายขึ้น จนเกิดการไหลย้อนกลับของกรด จึงเป็นที่มาของคำแนะนำให้ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนนอนตะแคงซ้าย
- ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาการเป็นน้อยลงจนสงบได้
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อนให้เกิดอาการของกรดไหลย้อน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลมทุกชนิด อาหารทอด อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด รสเผ็ด ผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม มะนาว มะเชือเทศ หอมหัวใหญ่ สะระแหน่ เปปเปอร์มิ้นต์ ช็อกโกแลต
- ไม่ควรทานอาหารมื้อดีกใกล้เวลานอน
ข้อแนะนำเพื่อดูแลสุขภาพของผู้ที่มีปัญหากรดไหลย้อน
- กินอาหารมื้อเล็ก ๆ การรับประทานอื่มเกินไป ทำให้หูรูดหลอดอาหารเปิดง่ายขึ้นและทำให้เกิดการย้อนของกรดง่ายขึ้น ดังนั้นจึงควรแบ่งกินอาหารเป็นมือเล็ก ๆ และรับประทานให้บ่อยขึ้น
- ไม่ควรเข้านอนหรือเอนกายหลังอาหารทันที หลังรับประทานอาหารเสร็จควรรอย่างน้อย 3 ชั่วโมงจึงเอนตัวนอน
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารนิโคตินในบุหรี่เพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและทำให้หูรูดอ่อนแอ ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้หูรูดเปิดออกได้เช่นกัน
- ยกศรีษะและลำตัวให้สูง ในผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อนขณะนอนราบ การนอนโดยเสริมด้านหัวเตียงให้ยกสูงขึ้นประมาณ 6 นิ้ว จะช่วยป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารได้
- ลดแรงกดต่อกระเพราะอาหาร เสื้อผ้าและเข็มขัดที่รัดแน่นบริเวณผนังหน้าท้อง การก้มตัวไปด้านหน้าน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน ล้วนเป็นสาเหตุที่เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ
- ผ่อนคลายความเครียด
คณะวิจัยและพัฒนา Operation BIM

การกระตุ้นเม็ดเลือดขาว Th1 และ Treg จะส่งผลให้ Th2 ซึ่งเป็นต้นเหตุของการอักเสบลดลง อีกทั้งการกระตุ้นเม็ดเลือดขาว Th1 และ Th17 ยังเพิ่มความสามารถของเม็ดเลือดขาวเพชฆาตให้่้จัดการกับเชื้อแบคทีเรีย H.pylori ได้มากขึ้น จึงเป็นวิธีการที่ใช้ลดอาการโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คณะวิจัย Operation Bim ได้วิจัยและพัฒนาสารเสริมประสิทธิภาพจากสารมังคุด งาดำ ถั่งเหลือง ฝรั่ง และบังบก จนได้แคปซูลเสริมอาหาร ที่พิสูจน์โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ แล้วว่า สามารถกระตุ้นการทำงานของ Th1 และ Th2 ได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้น Th17 ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหลายเท่า
♦ การสร้างภูมิคุ้มกันที่สมดุล เป็นมิติใหม่ของการดุลแสุขภาพ ♦
